วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การแต่งกายของชาวจีน (Mine Map)

Photobucket

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การแต่งกายของชาวจีน

นางสาวกัญยารัตน์ นวนสุทธิ์
50041904
คณะศึกษาศาสตร์ เอกภาษาจีน

การแต่งกายของชาวจีน




ในปัจจุบันนี้รัฐบาลจีนเตรียมให้การสนับสนุนตราสินค้าเครื่องแต่งกายของจีน มากขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากการสนับสนุนด้านนโยบายจัดเก็บภาษีแล้วกระทรวงการคลังและการทรวงพาณิชย์จีนยังได้ตัดสินใจจัดสรรเงินทุนจากกองทุนกลาง เพื่อการพัฒนา
การค้าต่างประเทศจำนวนเจ็ดร้อยล้านหยวนจีน เพื่อสนับสนุนให้สร้างตราสินค้าเครื่องแต่งกายในพื้นที่ต่าง ๆ ของจีนเป็นเฉพาะอีกด้วย และเงินทุนสนับสนุนจำนวนนี้จะนำมาใช้จ่ายในกิจกรรมส่งเสริมสินค้า ประเภทดังกล่าวใน 4 ด้านหลักด้วยกัน ได้แก่ การรับรองด้านการประเมินคุณภาพของตราสินค้า การกระตุ้น การคุ้มครองและการประชาสัมพันธ์ตราสินค้า
สื่อให้เห็นว่าการแต่งกายเป็นสิ่งที่สำคัญ ข้าพเจ้าคิดว่าทุกๆ ประเทศก็จะให้ความสำคัญของการแต่งกายไม่น้อยไปกว่าเรื่องอื่น ดังนั้นข้าพเจ้าจึงขอนำเสนอการแต่งกายของประเทศที่น่าสนใจและตรงกับสาขาที่ข้าพเจ้าเรียน คือ การแต่งกายของจีน ดังนี้


ชุด กี่เพ้า 旗袍 (qí páo)

คำว่า “กี่เพ้า旗袍(qí páo)” นั้นเป็นชื่อของเครื่องแต่งกายสตรีที่คนไทยเราอาจคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว เพราะอย่างน้อยๆ ทุกๆวันเทศกาลของพี่น้องชาวจีนในเมืองไทย โดยเฉพาะวันตรุษจีน เราจะเห็นอาโกว อาแจ้ ต่างก็แต่งกายด้วยกี่เพ้าและทักเปียทำผมผูกแกระกัน และปัดแก้มแดง กลายเป็นอาหมวยตุ๊กตาจีน น่ารักน่าเอ็นดูไปอีกแบบ แม้แต่บนถนนสีลมยามราตรี เราก็สามารถสังเกตเห็นแผงขายเสื้อผ้ามากมาย ขายกี่เพ้าหลากสีหลายขนาด เป็นที่สนอกสนใจของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และแม้แต่คนไทยเองก็อาจสนใจและเลือกซื้อมาใช้สวมใส่ในโอกาสพิเศษๆ


ทำไมถึงเรียกว่า กี่เพ้า旗袍(ฉี-ผาว)
คำว่า กี่เพ้า กี่คือ ฉี 旗 (qí) ในเสียงจีนกลาง แปลว่า ธง ส่วน เพ้า คือ ผาว 袍 (páo) ในเสียงจีนกลาง แปลว่าเสื้อคลุม และหากท่านเป็นแฟนพันธุ์แท้หนังจีนโบราณ คุณต้องคุ้นเคยกับคำว่า กองทัพแปดกองธง และแม่ทัพแปดกองธง ของราชสำนักชิง(แมนจู) คำว่า ฉี ผาว 旗袍 (qí páo) คือ เครื่องแต่งกายแห่งแปดกองธงนั่นเอง
ขอเท้าความคำว่าแปดธงนิดหนึ่ง แปดธงในที่นี้หมายถึงระบบแปดธง ซึ่งเป็นระบบที่ก่อตั้งโดย นูฮาชิ จอมราชาแห่งชนชาติแมนจู นูฮาชิ กรีฑาทัพ พิชิตทั่วสารทิศ และพบว่า เป็นการยากที่จะปกครองหากยังมีการแบ่งแยกด้วยเชื้อสายว่า ข้าเป็นแมนจู
(满人) mǎn rén ท่านเป็นมองโกล(蒙古人) méng gǔ rén ... จึงคิดค้นระบบแปดธง(八旗制度)bā qí zhì dù ขึ้นมา ไม่ว่าชนชาติใดที่ถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรของนูฮาชิ จะถือเป็นชนชาติที่มีเกียรติเทียบเท่าแมนจู และอยู่ภายใต้กฎหมายแห่งระบบแปดธง มีสิทธิเท่าเทียบกับแมนจู ระบบนี้เป็นที่พออกพอใจของทุกแคว้นทุกชนเผ่า ทุกแห่งที่นูฮาชิกรีฑาทัพไปถึง พระองค์จะตั้งระบบแปดธงที่นั่น แต่ละกองธงคือหนึ่งเชื้อสาย เมื่อครบแปดธงก็เป็นหนึ่งเครือข่าย และเตรียมตัวสร้างเครื่อข่ายแห่งใหม่ การพิชิตชนชาติใดชนชาติหนึ่งจึงกลายเป็นเรื่องง่าย เพราะทุกครั้งนูฮาชิจะยกทัพด้วยกองทัพแปดชนชาติ แต่คู่ต่อสู้เป็นแค่หนึ่งชนชาติที่โดดเดี่ยว ระบบแปดกองธงจึงขยายเครือข่ายลึกไปถึงมองโกลและธิเบต และค่อยๆขยายมาภาคกลาง แปดกองธงที่มีชื่อเสียงนอกเหนือไปจากแปดกองธงแห่งแมนจูชุดแรก อันได้แก่ แปดกองธงแห่งมองโกล(蒙旗军)méng qí jūn แปดกองธงแห่งฮั่น(汉旗军)hàn qí jūn
ระบบแปดกองธงแสดงให้เห็นถึงความปรีชาสามารถในแง่ของความเป็นผู้นำและขณะเดียวกัน ยังแสดงถึงวิสัยทัศน์อันทันสมัยของ นูฮาชิ จอมราชันย์ท่านี้อีก ด้วย พระองค์ได้สร้างระบบเครือข่ายที่ แข็งแกร่ง สามัคคี และขยายตัวอย่างเหมาะสม และ แตกเซลล์ใหม่ทันที่เมื่อขยายตัวเต็มที่ แทนทีจะขยายตัวไปเรื่อยๆจนแตกเหมือนฟองสบู่ และนี่คือที่มาของ ความหมายแปดกองธง และ ที่มาของคำว่า ชาวฉี (ชาวแปดกองธง) 旗人 qí rén และที่น่าทึ่งยิ่งกว่านั้นคือ วิธีการสร้างความสมานฉันท์และเอกภาพในกองทัพโดยการ คัดเลือกตัวแทนบุคลากร ต่างเผ่าไปประจำกองธงแต่ละกองธง เพื่อให้สมาชิกทุกกองธง ได้เห็นความสามารถของคนต่างเผ่า และยอมรับซึ่งกันและกัน ไม่แปลกเลยที่ราชวงค์ชิงสามารถดำรงยาวนานถึงสี่ร้อยห้าสิบปีและหากนับจากยุคสิ้นราชวงค์หมิง ราชวงค์ชิงสามรถปกครองแผ่นดินจีนต่อจากนั้นอย่างคงเสถียรภาพยาวนานถึงสามร้อยปีทีเดียว ทั้งที่โดยเชื้อสายนั้นไม่ใช่ชาวฮั่นแต่อย่างใด และฉี ผาว(กี่เพ้า) คือเรื่องแต่งกายที่มาจากวัฒนธรรมแห่งระบบเครือข่ายแปดกองธง(八旗制度)bā qí zhì dù นั่นเอง แต่แน่นอน เครื่องแต่งกายแบบนี้ ย่อมมีทั้งสำหรับหรับบุรุษและสตรี และยังจำแนกประเภทตามวาระโอกาสอีกด้วยเช่น ชุดพิธีการ ชุดออกศึก ชุดพิธีการทั่วไป ชุดลำรอง เป็นต้น แต่ กี่พ้าวในทุกวันนี้ เรามักจะรู้จักในรูปแบบของเครื่องแต่งกายหญิงเป็นหลัก บางคนอาจเข้าใจผิดด้วยซ้ำไปว่า กี่เพ้ามีแต่แบบผู้หญิง หรือมีความหมายว่าเครื่องแต่งกายหญิงในยุคเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ในหนังจีนเสียอีก
ความจริงแล้ว กี่เพ้าในแบบยุคเซี่ยงไฮ้นั้น เป็นกี่เพ้าที่พัฒนาไปสู่อีกรูปแบบหนึ่งแล้ว ตามความเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัยและความรู้แขนงใหม่ที่เกิดขึ้นในยุคนั้น (ช่วงยุคปลายราชวงค์ชิง จนถึงยุคสิ้นสุดสงครามโลก) ความรู้แขนงใหม่นี้เรียกว่า การออกแบบ(设计学) shè jì xué ยุคนั้นคนจีนเริ่มตื่นตัวกับวัฒนธรรมตะวันตกใหม่ๆ และการออกแบบ ทั้งในด้านสถาปัตยกรรมและด้านแฟชั่นก็เป็นที่สนอกสนใจของชาวจีน ในยุคนี้เองรูปแบบแฟชั่นมากมายได้ถือกำเนิดขึ้น กี่เพ้า ก็เป็นหนึ่งในนั้น






ชุดจีน(กี่เพ้า) ยาวลายหงษ์มังกร





ชุดจีน(กี่เพ้า) สั้นลายมังกร

ที่มา
http://www.igetweb.com/www/olc/index.php?mo=3&art=120728
http://thai.cri.cn/learnchinese/lesson16/img/1.jpg http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.tarad.com/berlin/img-lib/spd_2006080814333
http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.tarad.com/berlin/img-lib/spd_2006080820317

ชุดแต่งงานแบบจีนที่แบ่งตามยุคสมัย

ชุดแต่งงานจีน แบ่งกว้างๆเป็น3 ประเภทค่ะ แยกตามสมัย ได้แก่ แบบสมัยโจว แบบสมัยถัง และแบบสมัย หมิง

1.แบบโจว เป็นช่วงจีนยุคแรกๆ อาจจะเคยเห็นในหนังจีนบางเรื่องคะ






ชุดเจ้าสาว มองเสื้อผ้านะคะ เพราะว่าเจ้าสาวที่ใสสวยจนลืมมองชุดไปเลยคะ






ชุดเจ้าบ่าว ไม่ให้เห็นหน้าเพราะว่ากลัวจะไม่ดูชุดกันคะ



2.ชุดแต่งงานแบบราชวงศ์ถัง ให้นึกถึงสนมหยางกุ้ยเฟย ชุดประมาณนั้นคะ





ผู้หญิงถือเป็นต้นกำเนิดของกิโมโนของญี่ปุ่นคะ

ส่วนชุดผู้ชาย ผิดพลาดบางประการ หาภาพไม่ได้ แต่ยืนยันว่าชุดเท่มากๆ เลยคะ

3.ชุดแต่งงานแบบราชวงศ์หมิง






ชุดนี้เห็นบ่อยในหนังจีน สีแดงสดใส
ภาพนี้ฝรั่งแต่งกะสาวจีน แต่งตามแบบประเพณีจีนคะ




ต่อมา....เมื่อจีนได้รับอิทธิพลของตะวันตกชุดก็เปลี่ยนไป
ชุดผู้หญิงจะดูน่ารัก และเห็นชัดมากในชุดของผู้ชาย จะใส่หมวกทรงสูง
(ขอโทษที่ภาพไม่ค่อยชัดเจนคะ)

ปัจจุบันคนจีนก็รับอิทธิพลตะวันตกเข้าไป ก็เหมือนกับบ้านเราอะค่ะ เจ้าสาวหันมาใส่ชุดสีขาวกระโปรงพริ้วเจ้าบ่าวก็ใส่สูทเพื่อความเป็นสากล

ที่มา
http://yu2529.exteen.com/20070115/entry
http://www.hanminzu.com/bbs/dispbbs.asp?BoardID=101&replyID=168320&id=98164&skin=1

ประเพณีการแต่งงานแบบจีนและการแต่งกายที่ใช้ในปัจจุบัน

ประเพณีการแต่งงานแบบจีนที่เป็นพิธีการแต่งงานที่อยู่ใกล้ชิดกับคนไทย และมีความหมายอันงดงามซ่อนอยู่ในทุกรายละเอียดอย่างน่าสนใจใคร่รู้ไม่น้อยเช่นกัน ความงดงามในขั้นตอนพิธีการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพิธีการแต่งงานแบบจีนนั้น เริ่มจากการจัดเครื่องขันหมาก และสิ่งของที่ทั้งฝ่ายเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะต้องจัดเตรียมให้ครบครันเพื่อการเข้าพิธีวิวาห์แบบจีนที่สมบูรณ์แบบ


สิ่งที่เจ้าบ่าวต้องเตรียม

นอกจากสินสอดทองหมั้นที่รู้กันดีอยู่แล้ว เจ้าบ่าวในพิธีจีนจะต้องเตรียมเครื่องขันหมาก ซึ่งจะเป็นอะไรนั้น โดยทั่วไปนิยมส้มเช้งผลเขียวๆ ติดตัวอักษรจีน "ซังฮี่" แปลว่า คู่ยินดี ไว้ทุกผล จัดเป็นเลขคู่จะ 44 ผลหรือ 84 ผล หรือร้อยกว่าผลก็ได้ บางบ้านอาจเรียกเป็นชุดหมูสด เช่น ขาหมู ตับหมู กระเพาะหมูสดๆ หรือฝ่ายเจ้าบ่าวอาจนำเงินใส่ของ หน้าซองเขียนว่า ใช้ซื้อขาหมู ซื้อกระเพาะหมู แทนก็ได้ แต่ของสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือขนมขันหมากหรือขนมแต่งงาน เป็นขนมสี จะใช้ 4 สีหรือ 5 สีก็ได้ สำหรับแจกให้กับเหล่าญาติๆ เช่น ขนมเหนียวเคลือบงา ขนมเปี๊ยะ ขนมถั่วตัด ขนมข้าวพองทุบ และขนมโก๋อ่อน พร้อมซองเงิน 4 ซอง ที่พ่อแม่ของเจ้าบ่าวจะต้องให้กับพ่อแม่ของเจ้าสาว เพื่อเป็นค่าตัวทำผม แต่งหน้า และซองที่สี่เป็นทุนตั้งตัว ซองแรกเป็นค่าน้ำนม ซองที่ 2 เป็นค่าเสื้อผ้า ซองที่ 3 เป็นคำทำผม แต่งหน้า และซองที่ 4 เป็นทุนตั้งตัว ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับความปรานีของพ่อแม่เจ้าสาวว่าจะคืนให้คู่บ่าวสาวเอาไว้ใช้เริ่มต้นชีวิตคู่หรือไม่ ในวันงานของทั้งหมดที่กล่าวมาจะบรรจุไว้ในหาบ แล้วให้ผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จทั้งในด้านครอบครัวและการงาน พร้อมกับดวงชะตาถูกโฉลกต้องกับคู่บ่าวสาว เป็นผู้หาบจากขบวนขันหมากเข้ามาในบริเวณงาน เมื่อเข้ามาถึงผู้ที่หาบจะต้องใช้ไม้คานเขี่ยฝาหาบให้เปิดออก โดยห้ามใช้มือเปิดเด็ดขาด เพราะคนจีนถือว่าวันแห่ขันหมากเป็นวันแรง ถ้าหากคนหาบเป็นคนดวงอ่อน ก็จะทำให้เจอกับโชคร้าย จากนั้นจึงนำของภายในหาบออกมาวางเรียงกัน เพื่อแสดงต่อหน้าญาติๆ และสักขีพยานที่มาร่วมงาน


สิ่งที่เจ้าสาวต้องเตรียม

สำหรับเจ้าสาวในการเตรียมของเพื่ออกเรือนจะมีข้าวของเครื่องใช้มากมาย เริ่มจากเอี๊ยมแต่งงานซึ่งเป็นเอี๊ยมสีแดง ตรงอกเสื้อเอี๊ยมมีช่องกระเป๋าปักตัวอักษร "แป๊ะนี้ไห่เล่า" แปลว่าอยู่กินกันจนแก่เฒ่า ในกระเป๋าเอี๊ยมบรรจุห่อเมล็ดพืช 5 ชนิด มีความหมายว่าเจริญงอกงาม พร้อมต้นชุงเฉ้าหรือต้นเมียหลวง 2 ต้น และปิ่นทองที่ทำเป็นตัวลายภาษาจีนว่า "ยู่อี่" แปลว่าลมปรารถนา เสียบไว้ให้ปลายโผล่พ้นขอบกระเป๋าขึ้นมา นอกจากนี้ยังมีเชือกแดงสำหรับผูกเอี๊ยม มีตัวหนังสือ "ซังอี้" แปลว่าคู่ยินดี มีแผ่นหัวใจสีแดงสำหรับติดเรื่องประดับทอง เครื่องประดับเพชร ซึ่งจะมีมากแค่ไหนขึ้นอยู่กับฐานะของเจ้าสาว ไม่เพียงเท่านั้น เจ้าสาวยังต้องเตรียมกะละมังสีแดง 2 ใบ ถังน้ำสีแดง 2 ใบ กระป๋องน้ำสีแดง 2 ใบ กระโถน 1 ใบ พร้อมกระจก กรรไกร ด้าย เข็ม ถาดสีแดง และของที่ต้องจัดเป็นจำนวนคู่ อย่างตะเกียบ ชุดน้ำชา พัดแดง สำหรับเจ้าสาวถือตอนส่งตัว นอกจากนี้ยังมีผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม 1 ผืน หมอน 1 ชุด ซึ่งจะมี 4 ใบหรือ 5 ใบก็ได้ ประกอบไปด้วยหมอนข้าง 1 คู่ หมอนหนุน 1 คู่ หมอนหนุนใบยาว 1 ใบ ซึ่งหมอนใบยาวนี้จะมีหรือไม่ก็ได้ ถ้าเจ้าสาวฐานะดี พ่อแม่อาจจะจัดเครื่องอำนวยความสะดวกอื่นๆ ให้ด้วย เช่น ทีวีจอยักษ์ ตู้เย็น จักรเย็บผ้า ประมาณนี้ แล้วสุดท้ายยังมีหวีอีก 4 เล่มที่เป็นเคล็ดมงคลตามภาษาจีนเขียนว่า "ซี้ซี้อู่หอชิว" หมายถึงทุกๆ เวลาจะได้มี


ทรัพย์สิ่งที่ต้องปฏิบัติใน"วันยกขันหมาก"
สิ่งที่ต้องปฏิบัติใน"วันยกขันหมาก" เมื่อถึงวันยกขันหมาก เจ้าบ่าวจะยกขันหมากมาที่บ้านเจ้าสาว มอบสินสอดทองหมั้น และเครื่องขันหมากที่เตรียมมาให้ ฝ่ายเจ้าสาวต้องเก็บขนมแต่งไว้ครึ่งหนึ่ง และส่งอีกครึ่งหนึ่งคืนให้ฝ่ายเจ้าบ่าว พร้อมส้มเช้งที่ติดตัวอักษร "ซังอี่" จัดเป็นจำนวนผลคู่ กับเอี๊ยมแดงที่มีปิ่นทองเสียบอยู่ ในเช้าวันที่เจ้าบ่าวมารับตัวเจ้าสาว ฝ่ายเจ้าบ่าวจะนำปิ่นทองมามอบให้เจ้าสาวใช้ติดผมก่อนออกจากบ้าน นอกจากส้มเช้งแล้วฝ่ายเจ้าสาวจะให้กล้วยทั้งเครือกับฝ่ายเจ้าบ่าวเพิ่มไปด้วย เพื่อเป็นเคล็ดว่าจะได้มีลูกหลานว่านเครือสืบสกุล
เนื่องจากเครื่องขันหมากสำหรับหมั้นและสำหรับแต่งนิยมจัดหมือนกัน ดังนั้นในวันยกขันหมากอาจจะจัดให้มีพิธีหมั้นด้วยก็ได้ โดยมีธรรมเนียมว่าวันหมั้นฝ่ายหญิงเป็นผู้รับภาระเรื่องการเลี้ยงหมั้น แล้ววันเลี้ยงวันแต่งงานเป็นหน้าที่ของฝ่ายชาย ซึ่งข้อกำหนดนี้ปรับเปลี่ยนได้ตามฐานะของทั้งสองฝ่าย หลังจากพิธีหมั้นฝ่ายเจ้าบ่าวจะต้องนำของที่เจ้าสาวมอบให้ทั้งหมดยกเว้นกล้วย 1 เครือ นำมาวางไว้ที่หัวเตียงในห้องหอ และต้องนอนในห้องหอจนกว่าจะถึงวันแต่งงาน และไปรับเจ้าสาวมาอยู่ด้วยกัน


เมื่อถึงวันแต่งงาน

เมื่อถึงวันแต่งงานเจ้าบ่าวจะต้องเดินทางไปรับเจ้าสาวตามฤกษ์ ในขบวนที่ร่วมเดินทางไปรับเจ้าสาวนั้นจะประกอบไปด้วยกลุ่มญาติที่เป็นชายล้วนๆ เจ้าบ่าวจะต้องเตรียมช่อดอกไม้ไปด้วย 1 ช่อ และนำปิ่นทองผูกติดกับกิ่งทับทิมสำหรับประดับผมมาด้วย โดยปิ่นทองจะทำปิ่นทองหรือ "ยู่อี่" นี้มามอบให้กับแม่ของเจ้าสาว เพื่อนำปิ่นทองนี้มาประดับผมให้กับเจ้าสาว ที่สวมชุดแต่งงานและแต่งหน้าทำผมสวยงามรออยู่ในห้องด้านในการทำเช่นนี้ถือเป็นการอวยพรให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวโชคดี เมื่อเจ้าบ่าวเดินทางมาถึงบ้านเจ้าสาว ก็จะพบกับประตูเงิน ประตูทอง ตรงนี้เจ้าบ่าวจะต้องให้ "เล่าตั้ว" หรือพี่เลี้ยงของเจ้าบ่าวคอยจ่ายค่าผ่านทางเพื่อเข้าไปหาเจ้าสาวที่อยู่ในห้อง เมื่อผ่านด่านทั้งหมดแล้วเจ้าบ่าวจะนำช่อดอกไม้ที่เตรียมมามอบให้เจ้าสาว จากนั้นจึงพวกกันออกมาเคารพพ่อแม่ที่รออยู่ด้านนอก ระหว่างพิธีบรรดาญาติมิตรจะมาร่วมรับประทานขนมบัวลอยรอเจ้าบ่าวและเจ้าสาวให้ออกมาร่วมรับประทานพร้อมกัน ในที่นี้การได้รับประทานบัวลอยจะหมายถึง การอวยพรให้ชีวิตคู่มีความกลมเกลียวจะทำสิ่งใดก็จะลุล่วงไปได้ด้วยดี แต่ก็บางบ้านที่ตั้งโต๊ะให้คู่บ่าวสาวกินอาหารมงคล10อย่างก่อนแล้วจึงไหว้ลาพ่อแม่ไปขึ้นรถแต่งงาน สำหรับญาติฝ่ายเจ้าสาวที่ตามมาส่งเจ้าสาวถึงบ้านเจ้าบ่าว จะต้องเป็นกลุ่มผู้ชายล้วนเช่นกัน ฝ่ายเจ้าสาวจะต้องเตรียมตะเกียงที่สำหรับจุดให้แสงแล้วนำมาให้ญาติที่เป็นผู้ชายของฝ่ายหญิง เดินถือนำหน้าขบวนพาเจ้าสาวมาขึ้นรถ การจุดตะเกียงนี้หมายถึงให้ชีวิตคู่มีแต่ความสว่างไสว และถือเคล็ดว่าให้มีลูกชายเป็นผู้สืบสกุล พร้อมกันนี้ยังต้องจัดกระเป๋าสีแดงภายในบรรจุทรัพย์สินเงินทองที่พ่อแม่เจ้าสาวจะให้เจ้าสาวได้นำติดตัวไปสร้างครอบครัว นอกจากนั้นฝ่ายเจ้าสาวยังต้องเตรียมกาน้ำชาและชุดยกน้ำชาสำหรับพิธียกน้ำชา พร้อมด้วยเชิงเทียนสีแดง 1 คู่ เพื่อความเป็นสิริมงคลมาด้วย เมื่อมาถึงบ้านเจ้าบ่าวญาติหนุ่มฝ่ายเจ้าสาวจะนำตะเกียงไปวางไว้ในห้องหอและจุดทิ้งไว้ข้ามคืน โดยฝ่ายเจ้าบ่าวต้องให้อั่งเปาซองใหญ่กับผู้ที่นำตะเกียงมาเพราะถือว่าเป็นพิธีสำคัญ ปัจจุบันสามารถประยุกต์ใช้เป็นตะเกียงแบบเสียบปลั๊กแทน หลังจากนั้นจึงออกมาประกอบพิธีแต่งงานด้านนอก พิธีแต่งงานจะเริ่มจากการไหว้ฟ้าดิน ไหว้เจ้าที่ในบ้าน ไหว้บรรพบุรุษ ไหว้พ่อแม่ เพื่อเป็นการบอกกล่าวว่าทั้งคู่ได้แต่งงานกันแล้ว ถัดมาจึงเป็นการยกน้ำชา หรือ "ขั่งเต๊" ให้กับพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าบ่าว โดยทั้งสองต้องคุกเข่าลงพร้อมกับรินน้ำชาใส่ถ้วยวางลงบนถาดแล้วส่งให้ ผู้ใหญ่จะรับถ้วยชามาดื่มแล้วให้ศีลให้พร และเงินทองเพื่อเป็นทุนตั้งตัว เสร็จพิธียกน้ำชา คู่บ่าวสาวจึงกินขนมอี๊สีชมพูอีกครั้ง พิธีนี้จะทำในวันเดียวกันหรือจะทำอีกวันก็ได้ แต่ปัจจุบันนิยมทำพิธีให้จบในวันเดียว ส่วนช่วงเย็นจะจัดงานเลี้ยงแบบฝรั่งฉลองต่อแบบสมัยใหม่ที่กลายเป็นธรรมเนียมของทุกงานแล้วก็ได้


คู่รักใหม่กลับไปเยี่ยมบ้าน

หลังวันแต่ง 3 วัน 7 วัน หรือ 15 วัน แล้วแต่ฤกษ์ ก็ถึงคราวที่ญาติหนุ่มของฝ่ายเจ้าสาวจะมารับตัวเธอกลับไปเยี่ยมบ้านพร้อมกับเขยคนใหม่ที่เรียกว่า “ตึ่งฉู่” เจ้าสาวต้องเตรียมส้ม 12 ผลใส่ถาดติดไม้ติดมือกลับไปด้วย เมื่อไปถึงบ้านของฝ่ายหญิงก็ต้องทำพิธียกน้ำชาให้กับพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงเช่นกัน ผู้ใหญ่ก็จะให้พรและมอบทรัพย์สินเพื่อเป็นของขวัญในการตั้งตัว จากนั้นจะมีงานเลี้ยงต้อนรับลูกเขย จึงเป็นอันเสร็จพิธีแต่งงานอย่างแท้จริง

ภาพชุดจีนของเจ้าสาวที่มีการออกแบบที่สวยงามและมีให้เลือกหลายรูปแบบ





ชุดสีชมพูหวาน ดูสดใส ส่งผลให้เจ้าสาวดูน่าถนอมมากเลยคะ






สีแดงเป็นอะไรที่มีความหมายดีๆ ถ้าถามให้ผู้ใหญ่เลือก คงให้ใส่สีนี้






ชุดสีขาว เน้นลายผ้าเก๋ มีดีไซน์ที่ดีมาก


ที่มา
http://blog.spu.ac.th/print.php?id=9065
http://www.diarylove.com/nuch/index.php?datestamp=20040715&thisday=1&dfMonth=7&dfYear=2004